หน่วยที่ 2 ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.เทคโนโลยีสารสนเทศ
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล  ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่น โทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ 


2.บทบาทของระบบสารสนเทศ
 เทคโนโลยีสารสนเทศ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ตัวอย่าง เช่น
 1.  การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การค้นหาข้อมูลทางด้านการศึกษาง่ายขึ้น และกว้างขวางอย่างไร้ขีดจำกัด ผู้เรียนมีความสะดวกมากขึ้นในการค้นคว้าวิจัยต่างๆ
2.  การดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้มีความคล่องตัวและความสะดวกเร็วมากขึ้นกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตระจำวันก็สามารถทำได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน หรือใช้เวลาน้อย เป็นต้น
 3.  การดำเนินธุรกิจ ทำให้มีการแข่งขันกันระหว่างธุรกิจมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาองค์กรเพื่อให้ทันกับข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเวลา ส่งประโยชน์ให้ประเทศชาติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
 4.  อัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เพราะการติดต่อสื่อสารที่เจริญก้าวหน้าและ ทันสมัยในปัจจุบัน จึงทำให้โลกของเราเป็นโลกไร้พรมแดน
 5.  ระบบการทำงาน เพราะจะต้องมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้นและงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ก็มีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
3.ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประดอบด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร กระบวนงาน  และโทรคมนาคม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อทำการรวบรวม จัดการ จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศดังนี้ 
1.ฮาร์ดแวร์   คือ   อุปกรณ์ทางกายภาพซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์และหน่วยประมวลผลต่างๆที่ใช้ในการรวบรวม การนำเข้า และการจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ และแสดงสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์ออกมา



2.ซอฟต์แวร์   ประกอบด้วยกลุ่มของโปรแกรมที่ใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับฮาร์ดแวร์และใช้ในการประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ


3.ข้อมูล   หมายถึง   กลุ่มของข้อมูลและสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องกัน

4.บุคลากร   หมายถึง   บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

5.กระบวนการ   หมายถึง   กลุ่มของคำสั่งหรือกฎที่แนะนำวิธีการปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศ วิธีการสำรองสารสนเทศในระบบและวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

6.การสื่อสารข้อมูล   หมายถึง   การส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อสื่อสารและช่วยให้องค์กรสามารถเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่าย ที่มีประสิทธิภาพได้โดยเครือข่ายใช้ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน



4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( MIS)  หมายถึง   ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหาร

ระบบย่อยสารสนเทศเพื่อการจัดการ



1.ระบบประมวลผลรายการ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานประจำขององค์กร  
2.ระบบการจัดการรายการระบบนี้ช่วยในการจัดเตรียมรายการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้เป็นการบันทึกข้อมูลอย่างวางในขั้นตอนระบบประมวลผลรายการ
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูล 
4.ระบบสารสนเทศสำนักงานเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้ในสำนักงานโดยอาศัยอุปกรณ์พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ 
คุณสมบัติของสารสนเทศเพื่อการจัดการ
 1. ความสามารถในการจัดการข้อมูล
    2. ความปลอดภัยของข้อมูล
    3. ความยืดหยุ่น
    4. ความพอใจของผู้ใช้
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
 1. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
   2. ช่วยผู้ใช้งานในการกำหนดเป้าหมายกลยุทธ์และวางแผนปฏิบัติการ
   3. ช่วยผู้ใช้ในการตรวจสอบผลการดำเนินงาน
   4. ช่วยผู้ใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
   5. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อหาวิธีควบคุม
 6. ช่วยลดการใช้จ่าย
5.การประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 

      เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการจัดการและการกระจายสารสนเทศไปยังผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในทุกสาขาอาชีพจำเป็นต้องได้รับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ รวมทั้งพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ดังนั้นงานด้านต่าง ๆ จึงมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้ 
1. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา 
        การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายการศึกษาให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุด การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษา มีดังนี้ 
        1) วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video on Demand : VOD) เป็นระบบที่นำภาพวิดีโอมาบันทึกเป็นไฟล์ในระบบคอมพิวเตอร์และนำไฟล์ดังกล่าวมาเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลมีโอกาสเรียนรู้ได้ในเวลาที่สะดวก



 2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-books) เป็นหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ต้องใช้กระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถอ่านได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาและซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่าน 


3) ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-library) 
     หมายถึง แหล่งรวมความรู้ที่มีระบบการทำงานของห้องสมุดให้อยู่ในรูปแบบอัตโนมัติ เช่น ระบบบริการยืม–คืนทรัพยากรด้วยรหัสบาร์โค้ด ระบบบริการสืบค้นข้อมูลทรัพยากร และระบบตรวจเช็คสถิติการยืม-คืนทรัพยากร เป็นต้น 



3.    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขและการแพทย์ 
   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขและการแพทย์มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดีขึ้น ตลอดจนได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีขึ้น ดังนี้ 
        1) ระบบแพทย์ทางไกล (telemedicine) เป็นโครงการของรัฐบาลที่ยกระดับการให้บริการรักษาผู้ป่วยในท้องถิ่นทุรกันดารผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม โดยเริ่มจากส่งข้อมูลผู้ป่วยด้วยการถ่ายทอดสดผ่านทางดาวเทียมในการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย (video conference system) ขณะตรวจอาการผู้ป่วยจากสถานีอนามัยเชื่อมไปยังเครื่องปลายทางที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ 

4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร 
   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลผลิตทางการเกษตรให้กับเกษตรกรไทย ตั้งแต่การรับรู้ข้อมูลด้านการเกษตร ราคาของผลผลิตทางการเกษตร และความต้องการผลผลิตทางการเกษตรในตลาดซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตได้ดีขึ้น และสามารถผลิตได้ตรงกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการเกษตร มีดังนี้ 
        1) ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic information Systems : GIS) เป็นระบบการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ในระบบคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูลที่จัดเก็บ เช่น ทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับตำแหน่งพิกัดในแผนที่ 




5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม 
            การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นผิวโลกและในมหาสมุทร (earth and ocean resources satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ทรัพยากรสัตว์ป่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวมหาสมุทร และอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผน ป้องกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ

6.  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านอื่น ๆ 
     การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านอื่น ๆ ได้แก่ การติดต่อสื่อสาร การจัดสร้างเครือข่ายโทรคมนาคมต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศ เครือข่ายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ หรือเครือข่ายการบันเทิงต่าง ๆ เช่น การแพร่ภาพรายการโทรทัศน์ เคเบิลทีวี เป็นต้น





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หน่วยที่ 6 การประยุกต์ใช้โปรแกรมคำนวณทางธุรกิจด้วยโปรแกรม Microsoft Excel

หน่วยที่ 4 การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปด้านงานเอกสารด้วยโปรแกรม Microsoft Word

หน่วยที่ 3 การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต